วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แบบทดสอบก่อนเรียน

คำชี้แจง : จงกากบาท (X) เลือกคาตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.Adobe Photoshop เริ่มต้นสร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อใด
ก.1980                                                                                    ข.1990
ค.1981                                                                                    ง.1991

2.ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับ Raster , Vector
ก.Raster หรือ เรียกอีกอย่างว่า Bitmap
ข.Adobe Illustrator สามารถสร้างภาพแบบ Vector ได้
ค.Raster  เมื่อปรับขนาด เปลี่ยนสี รูปทรง ไม่สูญเสียคุณภาพของภาพ
ง.ภาพที่ได้จากกราฟิกแบบ Vector จะเป็นภาพวาด

3.ข้อใด ไม่ใช่ ส่วนประกอบของหน้าจอโปรแกรม Adobe Photoshop
ก.ฮิสตอรี่บาร์
ข.เมนูบาร์
ค.พื้นที่ทำงาน
ง.แถบสถานะ

4. CCW คือ  การหมุนแบบใด
ก.หมุนภาพ 90 องศา ทิศทางตามเข็มนาฬิกา
ข.หมุนภาพ 90 องศา ทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
ค.หมุนภาพ 180 องศา
ง.หมุนภาพแบบกำหนดองศาและทิศทางการหมุน

5.ข้อใด ไม่ใช่ File Format ของAdobe Photoshop
ก. TIP ( Tagged Image Photoshop)
ข. PSD ( Photoshop Document )
ค. JPEG ( JoinPhotographics Export Group )
ง. GIF ( Graphics Interchange Format )

6.การกดคีย์ลัด Ctrl  +  + คือ ปรับมุมมองแบบใด และมีลักษณะอย่างไร
ก. Zoom In    การย่อมุมมอง                                                 ข. Zoom Out การย่อมุมมอง
ค. Zoom In    การขยายมุมมอง                                             ง. Zoom Out  การขยายมุมมอง

7.ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก.Bitmapโหมดสีที่มีการเก็บข้อมูลสีเพียว100 Bit ต่อ Pixel
ข.Indexed Colorโหมดสีที่จำกัดไว้เพียง 26 สี
ค.RGB Colorโหมดภาพ โดยมีสี red gray black
ง.Grayscaleโหมดสำหรับภาพขาวดำ

8.ข้อใด ไม่ใช่ เครื่องมือการเลือกพื้นที่แก้ไข
ก.Maquee tool                                                                       ข.Lasso tool
ค.Magnetic Lasso Tool                                                        ง.Move tool

9.Render Filter ทำหน้าที่อะไร
ก.ทำหน้าที่ในการประมวลผลภาพใหม่ เช่นการกำหนดแสงใหม่ให้กับภาพ
ข.ทำหน้าที่ในการปรับเปลี่ยนความคมชัดของภาพ
ค.ทำหน้าที่ในการปรับเปลี่ยนภาพในพื้นที่ทำงานให้เกิดความพร่ามัว
ง.ทำหน้าที่ในการปรับเปลี่ยนภาพให้มีลักษณะโดยรวมของภาพแตกต่างกันออกไป

10.ข้อใด ไม่ใช่ ประโยชน์ของโปรแกรม Adobe Photoshop
ก.ออกแบบนิยตสาร                                                               ข.สร้างแอนิเมชั่น
ค.งานสิ่งพิมพ์                                                                        ง.ปรับและแก้ไขรูป             

ทำเสร็จแล้วดูเฉลยที่กล่องแสดงความคิดเห็นได้เลยค่ะ

ความเป็นมาของโปรแกรม Adobe Photoshop


                Photoshop เป็นโปรแกรมของบริษัท Adobe (อ่านว่า อะ-โด-บี้) ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโปรแกรมกราฟิค รายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม Illustrator, PageMaker และ Acrobat
                โปรแกรม Photoshop เวอร์ชั่นแรกนั้นเริ่มต้นสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1990 และได้รับการพัฒนามาเรื่อย ๆ จากเวอร์ชั่น 2, 2.5, 3, 4, 5, 5.5 เวอร์ชั่น 6, 7, CS จนถึงเวอร์ชั่นล่าสุดในปัจจุปัน ที่เรียกกันว่าเวอร์ชั่น CS6 โดยได้ทำการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการกับภาพกราฟิคขึ้นเรื่อย ๆ จากเดิมที่เน้นใช้งานเพื่อการสร้างภาพสิ่งพิมพ์ ก็หันมาเน้นเกี่ยวกับการจัดการภาพกราฟิคที่ใช้บนเว็บมากยิ่งขึ้น และนอกจากนี้แล้วยังได้สร้างภาพเคลื่อนไหวและตัดต่อวีดิโอได้อีกด้วย เพื่อเพิ่มความสามารถเกี่ยวกับการทำภาพกราฟิคที่ใช้สำหรับการทำเว็บโดยเฉพาะ
                ปัจจุบันโปรแกรม Photoshop เป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมอย่างมากจากผู้สร้างเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นการนำมาสร้างหรือตกแต่งภาพ เนื่องมาจากคุณสมบัติที่โดดเด่น ใช้งานง่าย มีเอฟเฟคต่าง ๆ ให้เลือกใช้งานมากมาย

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Raster , Vector และ Pixel

Raster , Vector และ Pixel
        ภาพบนคอมพิวเตอร์ หรือกราฟิคคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ ภาพแบบบิตแมป (bitmap) และภาพแบบเวกเตอร์(vector) ความเข้าใจความแตกต่างของกราฟิค ทั้งสองประเภทจะช่วยให้คุณสามารถเลือกใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น มีประสิทธิภาพ และตรงตาม จุดประสงค์สูงสุดในการใช้งาน
Vector Graphic
         ภาพแบบเวกเตอร์จะต่างจากภาพแบบบิตแมป ซึ่งคุณจะได้พบกับภาพแบบนี้บนโปรแกรม สำหรับวาดภาพเช่น Adobe Illustrator,Macromedia Freehand ภาพแบบเวกเตอร์จะประกอบด้วย เส้นสาย ลวดลายต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ของลักษณะทางเรขาคณิตเพื่อ สร้างรูปทรงต่าง ๆ ที่คุณเห็น ซึ่งเรียกว่าเวกเตอร์ (vectors)
         ข้อดีของภาพแบบเวกเตอร์ที่มีเหนือภาพแบบบิตแมป คือ คุณสามารถเคลื่อนย้าย ปรับขนาด เปลี่ยนสี รูปทรง โดยไม่สูญเสียคุณภาพของภาพ เพราะภาพแบบเวกเตอร์ เป็นภาพที่ไม่ขึ้นกับ ความละเอียด นั่นคือสามารถปรับขนาดและพิมพ์ที่ความละเอียดใด ๆ โดยไม่สูญเสียรายละเอียด และคุณภาพ ดังนั้นภาพแบบเวกเตอร์จึงเหมาะกับภาพลายเส้นต่าง ๆ เช่น ตัวอักษร โลโก้
Raster Graphic
         หรือ เรียกอีกอย่างว่า Bitmap โปรแกรมปรับแต่งภาพส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในท้องตลาดทุกวันนี้ มักจะทำงานกับภาพแบบบิตแมป หรือที่เรียกกันว่าแบบราสเตอร์ (raster) ภาพแบบบิตแมปนี้จะใช้ กริดของตารางเล็ก ๆ ที่เรารู้จักกันดีในชื่อ พิกเซล” (pixel) สำหรับแสดงภาพ แต่ละพิกเซลก็จะมีค่าของตำแหน่งและค่าสีของตัวเอง ด้วยเหตุที่พิกเซลมีขนาดเล็กเราจึงเห็นว่าภาพ มีความละเอียดสวยงามไม่มีลักษณะของกรอบสี่เหลี่ยมให้เห็น แต่ถ้าเราขยายขนาดของภาพ ก็จะเห็นกรอบเล็ก ๆ หรือพิกเซลที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นภาพ ดังนั้นนเมื่องคุณทำงานกับภาพแบบมิตแมป จึงเป็นทำงานกับพิกเซลเล็ก ๆ ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นภาพ ไม่ใช่วัตถุหรือรูปทรงที่เห็น ภาพแบบบิตแมปเป็นภาพที่ขึ้นอยู่กับความละเอียด (resolution)
         นั่นคือ มีจำนวนพิกเซลที่แน่นอนในการแสดงภาพ ดังนั้นจากตัวอย่างในภาพที่ 1 คุณจะเห็นว่าเมื่อภาพถูกขยาย หรือพิมพ์ด้วยความละเอียดไม่มากพอภาพจะสูญเสียรายละเอียด และปรากฏเป็นรอยหยักอย่างชัดเจนอย่างไรก็ตามภาพแบบบิตแมป ถือเป็นรูปแบบที่เหมาะกับภาพที่มีเฉดและสีสันจำนวนมาก เช่น ภาพถ่าย หรือภาพวาด
Pixel
         พิกเซล (Pixel) เป็นการผสมผสานของคำว่า “Picture” และ “element” คือหน่วย พื้นฐานของภาพ ภาพบิตแมปทุก ๆ ภาพประกอบขึ้นด้วยพิกเซล แต่ละพิกเซลจะมีลักษณะ เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่เก็บข้อมูลของสีโดยถูกกำหนตำแหน่งไว้บนเส้นกริดของแนวแกน x และ y ในลักษณะคล้ายแผนที่ (map) นั่นจึงเป็นที่มาของคำว่าบิตแมป (bitmap) เช่น พิกเซลของ ภาพ 8 บิต จะเก็บข้อมูลของสี 8 บิต ที่จอภาพจะใช้ในการแสดงผล ดังนั้นภาพภาพหนึ่งจึงประกอบด้วยพิกเซลเล็ก ๆ จำนวนมาก ซึ่งคุณสามารถมองเห็นได้เมื่อ ขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จำนวนของพิกเซล
         ที่แสดงต่อหน่วยของความยาวในภาพจะถูกเรียกว่าความละเอียด ของภาพ โดยปกติจะวัดเป็นพิกเซลต่อนิ้ว (ppi : pixel per inch) ภาพที่มีความละเอียดสูงจะประกอบไปด้วยพิกเซลจำนวนมากที่มีขนาดเล็กกว่าภาพเดียวกันที่มีความละเอียดน้อยกว่า ตัวอย่าง เช่น ภาพขนาด 1 x 1 นิ้ว ที่ความละเอียด 72ppiจะประกอบด้วยพิกเซล 5,184 พิกเซล (ความกว้าง 72 พิกเซล x ความยาว 72 พิกเซล = 5,184) และภาพเดียวกันที่ความละเอียด 300ppiจะประกอบด้วยพิกเซล 90,000 พิกเซลที่มีขนาดของพิกเซลเล็กกว่า (300 x 300 = 90,000) แน่นอน ว่าภาพที่มีความละเอียดมากกว่าก็จะใช้พื้นที่ในการจัดเก็บมากกว่า

วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ส่วนประกอบต่างๆ ของโปรแกรม Photoshop

1.หน้าจอของ Photoshop
2. ส่วนประกอบต่างๆของโปรแกรม Photoshop
2.1 แถบคำสั่ง
- File กลุ่มคำสั่งต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการไฟล์ เช่น การเปิด-ปิดไฟล์ การบันทึกและการพิมพ์
- Edit กลุ่มคำสั่งต่างๆ เกี่ยวกับการปรับแต่ง เช่น การตัด การคัดลอก
- Image กลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการปรับแต่งและการตกแต่งภาพ
- Layer กลุ่มคำสั่งๆ ที่ใช้ในการจัดการ layer
- Select กลุ่มคำสั่งต่างเกี่ยวกับการจัดการและการปรับรูปแบบขอบเขตของการเลือก (Selection)
- Filter กลุ่มคำสั่งต่างเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนภาพอัตโนมัติต่างๆ เช่น Filter และ Plug-in
- View กลุ่มคำต่างๆ เกี่ยวกับการกำหนดมุมมองภาพ เช่น การย่อขยาย รวมทั้งการกำหนดตำแหน่ง    ของการวัด เช่น เส้น กริดไกด์ และไม้บรรทัด
- Window กลุ่มคำสั่งต่างๆเกี่ยวกับการจัดการพาเลต ให้ปรากฏหรือไม่ปรากฏบนหน้าจอ
- Help รวบรวมคำแนะนำต่างๆ ในการใช้งานโปรแกรม
2.2 กล่องเครื่องมือ (Toolbox)
กล่องที่ใช้เก็บอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการทำงาน เช่น เครื่องมือเกี่ยวกับการวาดภาพ การเทสี เครื่องมือการสร้าง (Selection) รวมถึงการพิมพ์ตัวอักษรต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้
2.3 แถบกำหนดรูปแบบของเครื่องมือหรือ Option bar
จะปรากฏเมื่อเราใช้เครื่องมือในกล่องเครื่องมือ เช่น เมื่อเรากดตัว Text Option bar จะปรากฏออกมาดังนี้
จะสังเกตได้ว่าแถบของ Option bar นี้จะมีตัวกำหนดรูปแบบของเครื่องมือแสดงอยู่และในเครื่องมือแต่ละอย่างจะมีตัวกำหนดรูปแบบของเครื่องมือที่แตกต่างกันไปซึ่งเราสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย
2.4 พาเลต
สามารถกด Tab เพื่อเก็บพาเลตและกล่องเครื่องมือได้หรือสามารถกด F6-F9 เพื่อปิดพาเลตเหล่านี้
2.5 แถบสถานะ
                                เป็นแถบที่บ่งบอกถึงวิธีการทำงาน เช่น การเซฟ การเปิดไฟล์ ฯลฯ

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเปิด / file Browser การสร้างพื้นที่ทำงาน

การเปิดไฟล์ใหม่ขึ้นมาทำงาน
1. Click ที่เมนู File
2. เลือกคำสั่ง New หรือกด Ctrl + N
3. จะปรากฏหน้าต่าง New              
               
Name     ตั้งชื่อให้กับงาน
Preset     ช่องสำหรับเลือกพื้นที่ ที่โปรแกรมกำหนดมาให้
Width    ความกว้าง ซึ่งมีหน่วยต่าง ๆ เช่น Pixel ,เซนติเมตร , นิ้ว
Height   ความสูง ซึ่งมีหน่วยต่าง ๆ เช่น Pixel ,เซนติเมตร , นิ้ว
Resolution            ค่าความละเอียด ( ซึ่งความละเอียดบนหน้าจอ = 72 )
Color mode          เลือกชนิดของระบบสี

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การย่อขยายขนาดของภาพโดยคำสั่ง Image size

1. เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการขึ้นมา ( File > Open , Ctrl + O ) คลิกเลือกที่เมนู Image >เลือก Image size
- Pixel Dimension              ช่องแสดงความกว้างและความสูงปัจจุบัน
- Width ความกว้าง
- Height                ความสูง