วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

การหมุนพื้นที่ทำงานโดย Rotate Canvas

คำสั่งนี้เป็นการหมุนภาพทั้งภาพ โดยแบ่งการหมุนออกเป็น 2 ทิศทาง คือ ทิศทางตามเข็มนาฬิกา และทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
1. คลิกที่เมนู Image > Rotate Canvas จะปรากฏเมนูย่อย 6 คำสั่ง
หมุนภาพ 180 องศา
หมุนภาพ 90 องศา ทิศทางตามเข็มนาฬิกา
หมุนภาพ 90 องศา ทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
หมุนภาพแบบกำหนดองศาและทิศทางการหมุน
กลับด้านภาพ >กลับจากซ้ายไปขวา
กลับด้านภาพ >กลับด้านบนเป็นด้านล่าง

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

การตัดภาพด้วยเครื่องมือ Crop

การใช้งาน  Crop tool ( c )
1. เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการขึ้นมา ( File > Open , Ctrl + O ) ใช้เครื่องมือ Crop tool ( c ) คลิกสร้างกรอบให้คลุมวัตถุที่ต้องการ
- บริเวณนอกกรอบจะมืดลง แสดงว่าบริเวณนี้จะหายไปเมื่อ Crop
- เราสามารถจัดการกับกรอบได้ เช่น ปรับเปลี่ยนขนาด โดยคลิกที่จุดตรงมุมใดมุมหนึ่งแล้วลากเมาส์ให้ขนาดกรอบเปลี่ยนไป
เราสามารถปรับค่าของ Crop tool ได้จากแถบ Option bar
Shield ตัวเลือก Shield สำหรับแสดงสีกั้นส่วนที่จะถูกตัดออก
Color ช่องสำหรับคลิกกำหนดสีของส่วนกั้น
Opacity กำหนดค่าความโปร่งใสของ Shield
2. เมื่อพอใจแล้ว กดปุ่ม Enter หรือดับเบิ้ลคลิกในกรอบ หรือกดปุ่ม  Commit ใน Option bar รูปจะถูก Crop

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

การบันทึกข้อมูล ปรับค่าต่างๆ

         การบันทึกข้อมูล ( Save )ในระหว่างการทำงาน หรือหลังจากการทำงานเสร็จสิ้น การบันทึกผลงานหรือการ Save File เป็นสิ่งที่ควรทำให้เป็นนิสัยในระหว่างการทำงาน เพื่อให้สามารถนำงานชิ้นนั้นกลับมาทำงานต่อได้อีก รวมทั้งเป็นการป้องกันความผิดพลาดบางอย่าง  ที่อาจทำให้งานที่ทำอยุ่หายไปเฉยๆ ได้ ( เช่น ไฟฟ้าดับ หรือระบบ OS ของเครื่องล่ม ) โดยปกติเมื่อเราสั่ง Save งานโปรแกรมจะทำการบันทึกงานที่เราทำอยู่เป็น File Format .PSD ( Photoshop Document ) ซึ่งเป็นรูปแบบไฟล์ที่ใช้งานใน Photoshop สามารถที่จะจัดเก็บข้อมูลของงานที่ทำเอาไว้ทุกอย่างโดยไม่มีส่วนใดขาดหายไป สำหรับขั้นตอนในการบันทึกข้อมูลจะมีขึ้นตอนดังนี้
1. คลิกที่ Menu File > Save หรือ กด Ctrl + S 
2. กำหนดชื่อ และเลือกที่อยู่ปลายทางในการบันทึกข้อมูล เหมือนกับการบันทึกข้อมูลในโปรแกรมอื่นๆ โดยทั่วไป แล้วคลิกที่ Save เพื่อทำการบันทึก
Save Option
                ในขั้นตอนการบันทึกข้อมูลนั้น ในหน้าต่าง Save ( หรือ Save As ) ในส่วนด้านล่างจะเป็นส่วนของ Save Option ซึ่งจะเป็นส่วนตัวเลือกสำหรับปรับแต่งค่าการบันทึกข้อมูล ซึ่งจะประกอบไปด้วย
- Save As Copy เป็นการบันทึกงานแบบสำเนาใหม่ออกมาอีกชุดหนึ่งจากงานที่กำลังทำอยู่ โดยงานที่กำลังทำอยู่จะไม่ได้โดนบันทึกไปด้วยจนกว่าจะทำการบันทึก ( Save ) ตัวมันเอง
- Alpha Channel เป็นการบันทึกงานแบบกำหนดให้มีการบันทึกค่า Alpha Channel ( พื้นที่โปร่งใส ) ลงไปในภาพด้วย หากไม่เลือกตัวเลือกนี้พื้นที่ส่วนค่า Alpha Channel ของภาพจะถูกลบทิ้งไปอย่างไรก็ตาม ค่า Alpha Channel นั้นจะมีอยู่ในการบันทึกข้อมูลบางประเภท และบางลักษณะการทำงานเท่านั้น
- Layer เป็นการบันทึกค่าแบบกำหนดให้มีการแยก Layer ของภาพออกจากกัน หากไม่เลือกตัวเลือกนี้ Layer ทั้งหมดของภาพจะถูกรวมกันเป็นเดียว
- Annotionเป็นการกำหนดให้มีการบันทึก Note หรือข้อความพิเศษที่เรากำหนดขึ้นลงไปในภาพด้วย
- Spot Color เป็นการกำหนดให้มีการบันทึก Spot Color ลงไปในภาพด้วย
- Use Proof  Setup เป็นการกำหนดให้มีการบันทึกค่าการปรับแต่งของหน้าจอลงไปในงานด้วย
- ICC Profile เป็นการกำหนดให้มีการบันทึกภาพขนาดเล็กสำหรับแสดงแทนภาพของจริง
- Use Low Case Extension เป็นการกำหนดให้ตั้งชื่อนามสกุลของข้อมูลเป็นตัวอักษรตัวเล็ก

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

การย่อขยายและเลื่อนมุมมอง Zoom & Pan

         การย่อขยายและเลื่อนมุมมองของพื้นที่ทำงาน นั้นเป็นเรื่องที่เราจะต้องทำอยู่ตลอกเวลาในการทำงาน ซึ่งปกติก็มักจะต้องใช้งานเครื่องมือสำหรับงานนั้นๆ ( คือ Zoom tool และ Pan tool ) ซึ่งอาจจะไม่คล่องตัวนักหากเราจะต้องการทำการย่อขยาย หรือเลื่อนอยู่ตลอดเวลา สำหรับวิธีที่เราจะทำการย่อขยาย หรือเลื่อนมุมมองง่าย ๆ นั้นประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
1. การย่อขยายมุมมอง ( Zoom In / Out )
หากเราต้องการย่อขยายมุมมองของพื้นที่ทำงานที่เรากำลังทำงานอยู่นั้น ให้กดแป้น Ctrl และแป้น + พร้อมๆ กันสำหรับการขยายมุมมอง และกดแป้น Ctrl และแป้น - พร้อมๆ กันสำหรับการย่อมุมมอง
2. การเลื่อนมุมมอง ( Pan View )
ในกรณีที่ภาพที่ทำงานมีขนาดใหญ่กว่าที่พื้นที่ทำงานจะแสดงได้ทั้งหมด ( ไม่ว่าจะเพราะอะไรก็ตาม ) เราสามารถเลื่อนมุมมองในพื้นที่ทำงานได้ด้วยการกดแป้น Space bar ค้างเอาไว้ ( เมาส์จะกลายเป็น Pan tool ทันที ) แล้วจึงคลิกแล้วลากเลื่อนตำแหน่งมุมมองตามที่ต้องการ 
                การกด Ctrl + + คือ Zoom In
                การกด Ctrl + -   คือ Zoom Out
                การกด Space bar ค้างไว้ คือ Pan view

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

การเลือกเครื่องมือและคำสั่ง โดยใช้คีย์ลัด

การสร้างคีย์ลัด
การสร้างคีย์ลัดนั้นทำได้ง่ายแต่มีข้อควรจำ คือ ในการสร้างคีย์ลัด โปนแกนม Photoshop ยอมให้คุณผสมปุ่มได้เกือบทุกรูปแบบ โดยมีกฏบางประการ ดังนี้
1. ตัวอักษรเดี่ยวๆ เช่น M หรือ B กำหนดให้เป็นคีย์ลัดของเครื่องมือ Tool Box เท่านั้น
2. ตัวเลข เช่น 1 ถึง 9 นำมาใช้เป็นคีย์ลัดไม่ได้
3. คุณสามารถใช้ปุ่ม Shift , Ctrl , Alt /Option ร่วมกับตัวเลขหรือตัวหนังสือ เพื่อเป็นคีย์ลัดได้ เช่น Shift+8 หรือ Ctrl+Shift+K
4. ปุ่มฟังก์ชันนำมาสร้างเป็นคีย์ลัดได้ และใช้ร่วมกับปุ่ม Shift , Ctrl ได้อีกด้วย
5. สำหรับคีย์ลัดใด ๆ ที่โปรแกรม Photoshop ได้ตั้งไว้แล้ว ไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก
การใช้แป้นคีย์ลัด
เครื่องมือต่าง ๆใน Tool Box นั้นจะมีแป้นลัดอยู่เสมอ เราสามารถกดแป้นพิมพ์เพื่อเรียกใช้เครื่องมือชิ้นนั้น ๆ ได้ทันที่ เราสามารถทราบถึงตำแหน่งแป้นลัดของเครื่องมือแต่ละชิ้นได้โดยการใช้เมาส์ชี้ค้างไว้ที่เครื่องมือชิ้นนั้นๆ โปรแกรมจะแสดงชื่อของเครื่องมือพร้อมกับตำแหน่งของแป้นลัดขึ้นมาทันที สำหรับเครื่องมือที่อยู่เป็นชุดในตำแหน่งการเก็บเครื่องมือเดียวกันก็จะใช้แป้นลัดตำแหน่งเดียวกัน ในกรณีของเครื่องมือหลาย ๆ ชิ้นที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ( แน่นอนว่าใช้แป้นลัดตัวเดียวกัน ) เราสามารถกดแป้น Shift ค้างแล้วกดแป้นลัดเพื่อเลือกเครื่องมือในชุดนั้นแบบหมุนวนไปเรื่อยๆ ได้ด้วย
การเลือกชุดเครื่องมือด้วยการกดแป้น Alt แล้วคลิก
สำหรับเครื่องมือที่อยู่เป็นชุดๆ ในตำแหน่งเดียวกันนั้น เราสามารถกดแป้น Alt ค้างแล้วคลิกไปที่เครื่องมือชิ้นนั้นไปเรื่อยๆ เครื่องมือต่างๆ ที่ถูกเก็บอยู่จะถูกเลือกขึ้นมาแบบสลับหมุนวนไปเรื่อย ๆ
คีย์ลัดของเครื่องมือต่างๆ
รูป
ชื่อ
คีย์ลัด
รูป
ชื่อ
คีย์ลัด






rectangular marquee tool>ตัวเลือกแบบสี่เหลี่ยม
M
move tool >ใช้ในการเคลื่อนย้ายภาพ
V
elliptical marquee tool>ตัวเลือกแบบวงกลม
M



single row marquee tool>ตัวเลือกแบบแถวเดียว
M
magic wand tool >
W
single column marquee tool>ตัวเลือกแบบคอลัมน์เดียว
M






slice tool>ตัดภาพ
K
lasso tool>ตัวเลือกแบบอิสระ
L
slice selection tool>ตัดส่วนที่เลือกไว้
K
polygonal lasso tool>ตัวเลือกแบบเส้นตรง
L



magnetic lasso tool>ตัวเลือกแบบแม่เหล็ก
L
brush tool>บรัช
B



pencil tool>ดินสอ
B
crop tool >ตัดรูป
C






history brush tool>
Y
healing brush tool>บรัชก๊อบถาพ
J
art history brush tool>บรัชพิเศษ
Y
patch tool>การตัดแปะภาพ
J



color replacement tool >
J
gradient tool>เครื่องมือไล่สี
G



paint bucket tool>ถังสี
G
clone stamp tool>การปั๊มก๊อบภาพ
S



pattern stamp tool>การปั๊มก๊อบลาย
S
dodge tool>เพิ่มความสว่าง
O



burn tool>เพิ่มความมืด
O
eraser tool>ยางลบ
E
sponge tool>ฟองน้ำ
O
backgroung eraser tool>ลบเฉพาะสีฉากหลัง
E



magic eraser tool>บางลบวิเศษ ลบหมดภายใน1คลิ๊ก
E
horizontal type tool>พิมพ์แบบปกติ
T



vertical type tool>พิมพ์แบบแนวตั้ง
T
blur tool>ทำภาพเบลอ
R
horizonetal type mask tool>พิมพ์ตัวเลือกแนวนอน
T
sharpen tool>ทำภาพชัด
R
vertical type mask tool>พิมพ์ตัวเลือกแนวตั้ง
T
smudge tool>เกลี่ยภาพ
R






rectangle tool>สร้างรูปสี่เหลี่ยม
U
path selection tool>เลือกเส้นแนวทาง
A
rounded rectangle tool>สร้างรูปสี่เหลี่ยมขอบมน
U
direct selection tool>เลือกเล้นแนวทงโดยตรง
A
elipse tool>สร้างวงกลม
U



polygon tool>สร้างหกเหลี่ยม
U
pen tool>ปากกา
P
line tool>สร้างเส้น
U
freeform pen tool>ทำเส้นแนวทางแบบอิสระ
P
custome shape tool>สร้างรูปทรงพิเศษ
U
add anchor point tool>เพิ่มจุดหักเหนเส้นแนวทาง
P



delete anchor point tool>ลดจุดบนเส้นแนวทาง
P
eyedropper tool>ก๊อปปี้สี
I
convert point tool>ย้ายจุด
P
color sample tool>ก๊อบตัวอย่างสีเพื่อเปรียบเทียบ
I



measure tool>วัดค่าสี
I
notes tool>จดบันทึกการทำงาน
N



audio annotion tool>
N
zoom tool >ย่อขยายภาพ
Z






hand tool >เคลื่อนย้ายภาพ
H